ประสิทธิภาพในการเดินทาง

แนวทางของฮอนด้า

ฮอนด้ามีการพัฒนาเทคโนโลยีโดยการทำความเข้าใจสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริงในสภาพการจราจรจริงที่มีผู้ใช้ถนนหลากหลายประเภท รวมทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์ และโดยการวิเคราะห์กลไกการเกิดอุบัติเหตุ

ปัจจุบันฮอนด้าได้พัฒนาหุ่นจำลองผู้สัญจรทางเท้าตัวแรกของโลก*1 ซึ่งเป็นหุ่นรูปมนุษย์ที่จำลองการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์ขณะเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ และได้จัดตั้งศูนย์ทดสอบการชนรอบทิศทางในร่มแห่งแรกของโลกเพื่อทำการวิจัยลักษณะการชนได้เสมือนจริงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังได้พัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ เช่น ระบบถุงลมนิรภัย SRS Airbag System สำหรับที่นั่งผู้ขับขี่

โครงสร้างร่างกายแบบ Advanced Compatibility Engineering (ACE) *2 และระบบ CMBS (ระบบแรกของโลก) สำหรับรถยนต์ และระบบถุงลมนิรภัยสำหรับรถจักรยานยนต์ (ครั้งแรกของโลก)

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ฮอนด้าได้ติดตั้งระบบ Honda SENSING ซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการขับขี่ปลอดภัยที่ช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุในรถยนต์รุ่นต่างๆ ของฮอนด้า

ในปี พ.ศ. 2565 บริษัทได้เปิดตัวระบบ Honda SENSING 360 ซึ่งระบบ Honda SENSING 360 เป็นเทคโนโลยีที่นำเอาความรู้ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาระบบ Honda SENSING Elite แอพพลิเคชันแรกของโลกที่ใช้เทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติ*3 ในปี พ.ศ. 2564

อีกทั้งบริษัทตั้งเป้านำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งครอบคลุมสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุหลากหลายรูปแบบจากการวิเคราะห์ของฮอนด้าโดยจะติดตั้งในรถยนต์ทุกรุ่นภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งประกอบด้วยระบบ Honda SENSING 360 เทคโนโลยีการปกป้องผู้สัญจรทางเท้าและป้องกันการเฉี่ยวชน และการแจ้งเตือนการชนอัตโนมัติขั้นสูง (เอเอซีเอ็น)

นอกจากนี้ ในการรับมือกับปัญหาการเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงถึงชีวิตจากรถจักรยานยนต์ในประเทศเกิดใหม่นั้น ฮอนด้ามีการส่งเสริมการติดตั้งระบบ Honda SENSING ที่มีฟังก์ชั่นตรวจจับรถจักรยานยนต์ในรถยนต์ทุกรุ่น ในส่วนของรถจักรยานยนต์เองนั้น ฮอนด้าตั้งเป้าติดตั้งระบบเบรกขั้นสูงเพิ่มในรถจักรยานยนต์หลายรุ่น เช่น ระบบ ABS และ CBS รวมถึงไฟส่องสว่างที่เพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นให้กับทั้งผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้ใช้ถนนรายอื่น

*1 อ้างอิงจากการวิจัยของฮอนด้า
*2 โครงสร้างร่างกายที่เน้นความปลอดภัยซึ่งมีประสิทธิภาพการกระจายและดูดซับแรงชนในห้องเครื่องยนต์ขณะที่รถยนต์ชนกัน โดยมีการป้องกันผู้ขับขี่มากขึ้นและลดความเสียหายต่อรถยนต์คันอื่นที่ได้รับแรงปะทะ
*3 เทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติที่ระดับการขับขี่อัตโนมัติขั้น 3 ตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดไว้ (ตามเอสเออี) ในบางสถานการณ์นั้น ระบบดังกล่าวจะติดตามสภาพการจราจรในบริเวณโดยรอบและทำงานแทนผู้ขับขี่ หากระบบดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนไปจากสภาพที่เกิดขึ้นจริง จะมีเสียงสัญญาณเตือนดังขึ้นเพื่อให้ผู้ขับขี่กลับมาควบคุมการขับขี่เองได้ทันที

กิจกรรมระดับภูมิภาคในปีงบประมาณ 2567

ในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในปี พ.ศ. 2573 นั้น การสร้างความนิยมและการปฏิวัติรูปแบบการทำงานของ ADAS ของฮอนด้าถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับรถยนต์

Honda SENSING ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยี ADAS ของฮอนด้า มีการนำมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ในประเทศญี่ปุ่น รถยนต์ขนาดเล็กรุ่น N-BOX ที่ติดตั้งระบบนี้สามารถลดการชนท้ายลงได้ถึง 82% และลดอุบัติเหตุที่เกิดกับผู้สัญจรทางเท้าลงได้ 56%*1 ยืนยันได้ถึงประสิทธิภาพในการลดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี
เป้าหมายในอนาคตคือการเปิดตัวระบบ Honda SENSING ที่มีฟังก์ชั่นตรวจจับรถจักรยานยนต์ในรถยนต์ทุกรุ่นทั่วโลกรวมทั้งในประเทศเกิดใหม่ภายในปี พ.ศ. 2573
ในปีงบประมาณ 2567 อัตราการใช้ระบบ Honda SENSING ในประเทศเกิดใหม่*2 อยู่ที่ 77% และในประเทศพัฒนาแล้ว *3 อยู่ที่ 94% ในประเทศพัฒนาแล้ว ฮอนด้าตั้งเป้าเปิดตัวระบบ Honda SENSING 360 ที่ติดตั้งในรถยนต์ทุกรุ่นภายในปี พ.ศ. 2573 เริ่มจากรุ่น CR-V ที่เปิดตัวไปแล้วในประเทศจีนในปี พ.ศ. 2565

ในส่วนของรถจักรยานยนต์ บริษัทCตั้งเป้าติดตั้งระบบเบรกขั้นสูงเพิ่มในรถจักรยานยนต์หลายรุ่น เช่น ระบบ ABS และ CBS รวมถึงไฟส่องสว่างที่เพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นให้กับทั้งผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้ใช้ถนนรายอื่น และในปี ปีงบประมาณ 2567 อัตราการใช้เบรกขั้นสูงในประเทศเกิดใหม่*4 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 85%

*1 ผลต่างของจำนวนอุบัติเหตุทางถนนที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตและบาดเจ็บต่อรถยนต์จดทะเบียนเปรียบเทียบระหว่างรถยนต์รุ่น
N-BOX ที่ไม่มี AEB และรุ่นที่ติดตั้งระบบ Honda SENSING จากข้อมูลของสถาบันเพื่อการวิจัยอุบัติเหตุจากการจราจรและการวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้การวิจัยของฮอนด้า
*2 อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และบราซิล
*3 ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป
*4 อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย และบราซิล

ผลการลดการชนของรถยนต์ที่ติดตั้งระบบ Honda SENSING (N-BOX)
อัตราการใช้ระบบ Honda SENSINS ในรถยนต์ในประเทศเกิดใหม่ *2
อัตราการใช้ระบบ Honda SENSING / Honda SENSING 360 ในรถยนต์ในประเทศพัฒนาแล้ว*3
อัตราการใช้ระบบเบรกขั้นสูง, ABS / CBS ในรถจักรยานยนต์ในประเทศเกิดใหม่ *4

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 มีการติดตั้งระบบ Honda SENSING 360 ในรถยนต์ ACCORD รุ่นใหม่เป็นครั้งแรกในตลาดญี่ปุ่น ระบบ Honda SENSING 360 มีฟังก์ชั่นการตรวจจับ 360°* โดยมีการติดตั้งกล้องเซ็นเซอร์ด้านหน้า เรดาร์ด้านหน้า และเรดาร์คลื่นห้ามิลลิเมตรรวมห้าตำแหน่งในแต่ละมุม CMBS ได้มีการพัฒนาจากระบบ Honda SENSING พื้นฐานเพื่อตรวจจับผู้สัญจรทางเท้าขณะที่รถยนต์เลี้ยวขวาหรือเลี้ยวซ้ายนอกเหนือจากการตรวจจับรถยนต์คันอื่นในบริเวณทางแยก CMBS ช่วยสร้างสภาพการขับขี่ที่สะดวกสบายและปลอดภัยโดยมีการติดตั้งระบบแจ้งเตือนรถตัดหน้าก่อนออกรถ การเปลี่ยนเลน การป้องกันการชน และการช่วยเปลี่ยนเลน

คุณลักษณะเด่นของระบบ Honda SENSING 360

■ Advanced Collision Mitigation Braking System (CMBS)
CMBS ในระบบ Honda SENSING พื้นฐาน ได้รับการพัฒนาต่อยอดเพื่อหลีกเลี่ยงการชนและบรรเทาความเสียหายจากอุบัติเหตุการชนบริเวณทางแยกต่างๆ โดยมีระบบตรวจจับทั้งด้านหน้าและรอบทิศทาง
■ Front cross traffic warning
ขณะออกรถหรือขับขี่ด้วยความเร็วต่ำ ระบบจะทำการแจ้งเตือนผู้ขับขี่หากมีรถยนต์คันอื่นเคลื่อนเข้ามาใกล้ทั้งทางด้านซ้ายและขวาของตัวรถ
■ Lane change Collision mitigation
ขณะเปลี่ยนเลน ระบบจะทำการตรวจจับรถยนต์ในเลนใกล้เคียงที่กำลังเคลื่อนที่เข้ามาทั้งจากด้านหลังและเตือนผู้ขับขี่ พร้อมช่วยบังคับพวงมาลับเพื่อหลีกเลี่ยงการชน
■ Active lane change assist
ขณะที่ผู้ขับขี่จะทำการเปลี่ยนเลนบนทางหลวงและทางด่วน ระบบจะทำการตรวจจับสภาพโดยรอบและช่วยควบคุมพวงมาลัยขณะเปลี่ยนเลน
* ประสิทธิภาพในการตรวจจับของระบบ Honda SENSING 360 มีข้อจำกัด และผู้ขับขี่ยังจำเป็นต้องตรวจสอบยืนยันสภาพการจราจรด้วยตนเองทุกครั้ง